พญานาค เรื่องเล่าและตำนานความเป็นมา
นาค หรือ พญานาค คือ งูใหญ่ ที่มีหงอน ลักษณะแห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา และ นาคยังเป็นสัญลักษณ์ของ บันไดสายรุ้ง สู้จักรวาล
มีความเชื่อกันว่า เรื่องราวของพญานาคมีความเก่าแก่มานานมาก ซึ่งต้นกำเนิดมาจาก อินเดียใต้ ด้วยภูมิภาคทาง ประเทศอินเดียใต้ เป็นป่าเขาจึงทำให้มีงูอยู่ซุกชุม งูนั้นมีลักษณะคล้ายๆ งูมีพิษร้ายแรง
งู จึงเป็นสัตว์ที่มนุษย์ให้การนับถือว่าเป็นสัตว์ ที่มี อำนาจ ทำให้ชาว อินเดียใต้ จึงนับถือ งู โดยทั่วๆไปแล้วผู้คนมีความเชื่อว่าพญานาคเป็นสัตว์กึ่งเทพ มีอิทธิฤทธิ์
สามารถเนรมิตรให้เป็นมนุษย์ได้ ทั้ง ชาย แระ หญิง ทั้งนี้ยังเป็นสัญลักษณ์แห่งสายน้ำ เป็นผู็พิทักษ์รักษา และ เป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบรูณ์ สำหรับตำนานของพญานาคนั้น มักจะมีหลายตำนานที่ถูกเล่าขานกันมา
โดยในมหากาพย์มหาภารตะพญานาคถือได้ว่า เป็นศัตรูกับ พญาครุฑ ในตำนานพุทธประวัติได้เล่าถึงพญานาค ชาวบ้านในภูมิภาคนี้มักเชื่อกันว่า พญานาคอาศัยอยู่ในลุ่ม แม่น้ำโขง หรือ เมืองบาดาล และเชื่อกันว่าเคยมีชาวบ้าน พบรอยพญานาคขึ้นมาปรากฏให้พบเห็นในวันออกพรรษา จะมีลักษณะคล้ายๆรอยของ งู ขนาดใหญ่ และ เมื่อลงไปเล่นน้ำใน แม่น้ำโขง ควรยกมือไหว้ เพื่อเป็นการสักการะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์
ในปัจจุบันนี้ชาวบ้านไม่น้อย ที่มีความเคราพ ความเชื่อ เรื่อง พญานาค ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ได้ส่งต่อ จากรุ่นสู่รุ่น เมื่อมีความเชื่อ จึงเกิดความศัรทธาในตัว พญานาคว่าใครที่พบเห็นรอยพญานาค หรือ เชื่อว่าพญานาคมีอยู่ จะทำให้เกิด โชคลาภ และ ความเป็นสิริมงคลแก่บุคลนั้นๆ
จึงเกิดพิธีกรรมการสักการะบูชา
พญานาคขึ้นเพื่อขอ โชคลาภ จากท่านโดยมีให้เห็นจากสื่ออยู่บ่อยครั้ง ว่ามีคนถูก ล็อตเตอรรี่ รางวัลที่ 1 จาการไปขอ โชคภาล จาก พญานาคมาพิธีกรรมบวงสรวงพญานาคที่นิยมกันทำ เช่น พิธีการรำบวงสรวงองค์ ปู่ศรีสุทโธ และ ย่าศรีปทุมมา ที่ วังนาคินทร์ คำชะโนด อำเภอ บ้านดุง จังหวัด อุดรธานี ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่า พญานาคราช ผู้เป็นใหญ่ หรือ พิธีขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์บน ภูลังกา เป็นที่ตั้งของ ถ้ำนาคา ที่ อำเภอ บึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ โดยชาวบ้านเชื่อกันว่า ปู่อือลือ ถูกสาปให้ร่างกาย กลายเป็นหินติดอยู่ในถ้ำแห่งนี้
ลักษณะของ พญานาค ตามความเชื่อในแต่ละภูมิภาค จะแตกต่างกัน แต่ละพื้นคือพญานาคนั้นมีลักษณะตัวเป็น งูตัวใหญ่ มีหงอนสีทอง และ ตาสีแดง เกล็ดเหมือนปลาสีแตกต่างกันไป ตามบารมี
ที่สำคัญคือ นาค ตระกลูธรรมดาจะมีเศียรเดียว แต่ตระกลูที่สูงขึ้นไปนั้นจะมีสามเศียร ห้าเศียร และ เก้า เศียพญานาคจำพวกนี้จะสืบเชื้อสายมาจาก พญาเศษนาคราช ผู้เป็นบัลลังค์ของพระวิษณุนารายณ์ปรมนาท ณ เกษียณสมุทร อนันตนาคราช
นั้นเล่ากันว่ามีกายใหญ่โต มีความยาวไม่สิ้นสุด มีพันศรีษะ พญานาคนั้นมีทั้งเกิดในน้พและบนบก เกิดจากครรภ์ และ จากไข่ มีอิทฤทธิ์ สามารถ บันดาลให้เกิด คุณและโทษได้
เรื่องราวของพญานาคเป็นที่กล่าวขานกันมานานมากทั้งใน ประเทศไทย และ ประเทศลาว โดยเฉพาะในพื้นที่ ที่มี แม่น้ำโขง ไหลผ่าน หลักฐานที่สะท้อนความเชื่อ เรื่องราวเกี่ยวกับพญานาคมาตั้งแต่สมัยทวารวดี วัฒนธรรมขอมสมัยลพบุรี
จนถึงล้านช้าง นอกจากนี้พญานาคยังมีสัมพันธ์กับรูปแบบ สังคมเกษตรกรรมในฐานนะที่เป็นสัญลักษณ์ของน้ำ และ ความ อุดมสมบรูณ์ ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ก็รับ อิทธิพลมาจาก อินเดียใต้ และ พุทธศาสนา โดยในแต่ละภูมิภาคของไทย
ปัจจุบันประเพณีงานบุญต่างๆ ทางพระพุทธศาสนา ได้ทำการนำเอาสัญลักษณะที่เป็นรูปสัตว์ หรือ รูปตัวแทนของพญานาคมาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ สืบเนื่องมาจากความศัรทธา ความเชื่อ อันมีมาแต่ดังเดิม เช่นประเพณี บวชนาค ประเพณีปล่อยเรือไฟ ประเพณีบุญข้าวกรรม หรือ บุญกองฮด ประเพณีขอฝน ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมานาน เกิดจากอิทธิพลของพญานาค เพราะสังคมไทย มีความเชื่อว่าพญานาคให้คุณให้โทษได้ ถึงแม้ว่า ชาวพุทธ และ พราหมณ์ จะมีตำนานความเชื่อมโยงบนพื้นฐานความเชื่อ