ตำนาน บั้งไฟพญานาค ริมฝั่งแม่น้ำโขง ใน วันออกพรรษา
บั้งไฟผี หรือ บั้งไฟพญานาค
ตำนาน บั้งไฟ ริมฝั่งโขง ปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ เกิดขึ้นทุกคืน วันออกพรรษา คือ ขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ของทุกปี แต่ถ้าในปีไหน มีเดือน 8 สองครั้ง
ปรากฏการณ์นี้ จะเกิดขึ้นในวัน แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งตรงกับ วันออกพรรษา ของลาวนั่นเอง ปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติเกิดขึ้นใน จังหวัดหนองคาย
และ จังหวัดบึงกาฬ จะมีประชาชนมากมาย มายืนรอชม ปรากฏการณ์ บั้งไฟพญานาค ริมฝั่งแม่น้ำโขง กันอย่างล้นหลาม และมีประชาชนที่ให้ความ
สนใจเพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปีไฮไลท์ของคืน วันออกพรรษา คงหนีไม่พ้น เรื่องราว ตำนานพญานาค มีที่มาที่ไปอย่างไร และ บั้งไฟผี เกิดขึ้นได้อย่างไร
ปรากฎการณ์ลูกไฟพุ่งขึ้นเหนือน้ำ ไม่มีกลิ่นควัน ไม่มีเสียง และไม่โค้งตกลงมา มีแต่แสงลูกไฟสีแดงอมชมพู ที่พุ่งขึ้นจากน้ำโขง จะเริ่มปรากฏ
เหนือผิวน้ำ ตั้งแต่ระดับ 1-30 เมตร แล้วจะพุ่งขึ้นสูง ประมาณระดับ 50-150 เมตร เป็นเวลาประมาณ 5-10 วินาที แล้วดับหายวับไปในอากาศ
ขนาดของลูกไฟ มีขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือ กระทั่งขนาดเท่าฟองไข่ไก่ จะเริ่มปรากฏให้เห็นหลังพระอาทิตย์ตกดิน จนถึง ประมาณ 23.00 น.
บั้งไฟผี เกิดขึ้นปีละ 1 ครั้ง ในช่วงวันออกพรรษา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของไทย โดยแต่ละปีจะปรากฏขึ้นประมาณ 3-7 วัน มากกว่า 90% ของจำนวน
ลูกบั้งไฟ ในแต่ละปี จะพบที่จังหวัดหนองคาย หน้าวัดไทย และ บ้านน้ำเป อ.โพนพิสัย วัดอาฮง อ.บึงกาฬ วัดหินหมากเป้ง และอ่างปลาบึก อ.สังคม
แต่จุดที่ประชาชนเชื่อถือกันว่าเป็น เมืองหลวงของ พญานาค นั้น อยู่ที่ แก่งอาฮง จังหวัดบึงกาฬ หรือที่เรียกกันว่า “สะดือแม่น้ำโขง” นั่นเอง เป็นจุดที่
ลึกที่สุดของแม่น้ำโขง ซึ่งชาวประมงเคยใช้เชือกผูกก้อนหินหย่อนลงไปในหน้าแล้งแล้ววัดดู ปรากฏว่ามีความลึก 99 วา (ประมาณ 198 เมตร)
พญานาค นั้นอาศัยอยู่ใน เมืองบาดาล มีนิสัยดุร้าย มีพิษร้ายแรงในตัวถึง 64 ชนิด อาศัยอยู่ใต้ดิน หรือบาดาล ในสมัยพุทธกาล มีพญานาคตนหนึ่ง
นั่งฟังธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า แล้วเกิด ศรัทธา จึงเลิกนิสัยดุร้าย แล้วแปลงกายเป็นมนุษย์ ขอบวชเป็นพระภิกษุ แต่ติดที่เป็นเป็นสัตว์เดรัจฉาน
จึงไม่สามารถบวชได้ นาคตนนั้นผิดหวังมาก จึงขอถวายคำว่า นาค ไว้ใช้เรียก ผู้ที่เข้ามา ขอบวชในพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นอนุสรณ์ในความศรัทธา
ของตน และปวารณาตนเป็นพุทธมามกะสืบไป ต่อมา เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากเสด็จไปโปรดพุทธมารดา
จนครบ 1 พรรษา เมื่อกลับสู่ โลกมนุษย์ใ นวัน ขึ้น 15ค่ำเดือน11 เหล่าบรรดาพญานาคี นาคเทวี พร้อมทั้ง เหล่า บริวาร จึงได้ จัดทำ เครื่องบูชาและ
พ่นบั้งไฟถวาย ซึ่งต่อมาชาวบ้านเรียกว่าบั้งไฟพญานาคนั่นเอง
แม่น้ำโขง ก็มีเรื่องเล่าที่เกี่ยวข้องกับ พญานาค เช่นกัน ตาม ความเชื่อโบราณ ที่เล่าสืบต่อกันมาของชาวไทย เชื่อกันว่า แม่น้ำโขง เกิดจาก
การเดินทาง ของ นาค ตนหนึ่งชื่อว่า เจ้าศรีสุทโธ นาคตนนี้ เมื่อเลื้อยไปเจอ ภูผา หรือ ก้อนหิน ก็เลี้ยวหลบ ผิดกับนาคตนอื่น ที่จะเลื้อยผ่าตรงไปเลย
เส้นทางการเดินของ ปู่เจ้าศรีสุทโธ จึงมีลักษณะคดเคี้ยวไปมาเรียกกันว่า ลำน้ำคด หรือ ลำน้ำโค้ง ต่อมาจึงเพี้ยนเป็น ลำน้ำโขง มาจนถึงปัจจุบัน
คำอธิบายบั้งไฟ ในเชิงวิทยาศาสตร์
งานวิจัยวิทยาศาสตร์ของไทยหลายฉบับสรุปว่า บั้งไฟผี คือก๊าซมีเทน-ไนโตรเจน เกิดจากแบคทีเรียที่ความลึก 4.55–13.40 เมตรอุณหภูมิ
ไม่ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ปริมาณออกซิเจนน้อย ในวันที่เกิดปรากฏการณ์ มีแดดส่อง ช่วงประมาณ 10, 13 และ 16 นาฬิกา มีอุณหภูมิมากกว่า
26 องศาเซลเซียส ทำให้มีความร้อนมาก พอย่อยสลายสารอินทรีย์ และจะมีก๊าซมีเทนจากการหมัก 3–4 ชั่วโมง มากพอให้เกิดความดันก๊าช
ในผิวทรายทำให้ก๊าซหลุดออกมา และพุ่งขึ้นเมื่อโผล่พ้นน้ำ ฟองก๊าซที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำบางส่วนจะฟุ้งกระจายออกไป ส่วนแกนในของก๊าซ
ขนาดเท่าหัวแม่มือ จะพุ่งขึ้นสูง กระทบกับออกซิเจน รวมกับอุณหภูมิที่ลดต่ำลงยามกลางคืน ทำให้เกิดการสันดาปอย่างรวดเร็วจนติดไฟได้
ทั้งนี้ ทางฝั่งลาวเองก็มีการยิงกระสุนส่องวิถีขึ้นฟ้าในวันออกพรรษา แต่ลักษณะจะแตกต่างจาก บั้งไฟ ที่เกิดขึ้นจากบริเวณกลางแม่น้ำโขง
แต่ลักษณะการพุ่งสู่ท้องฟ้าจะแตกต่างกัน สามารถแยกแยะระหว่างกันได้
ติดตาม ดูดวง ทำนายฝัน เลขเด็ด
เป็น ความเชื่อ ส่วนบุคคล โปรดใช้ วิจารณญาณ